Server คืออะไร ทำไมต่างจาก Computer ทั่วไป
เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า Server ผ่านหูกันมาบ้างแล้ว กับคนที่ชอบเล่นเกมออนไลน์จะคุ้นเคยดี เพราะเวลาที่ไม่สามารถเข้าเกมได้เป็นเพราะว่า Server กำลังปิดปรับปรุงอยู่นั้นเอง แต่สำหรับในส่วนขององค์กรหรือบริษัท ถ้าต้องมีการจัดการข้อมูล ก็มักจะมี Server Computer อย่างน้อย 1 เครื่อง ตั้งไว้เพื่อเป็นศูนย์กลางของบริษัท ทำให้ง่ายและสะดวกในการจัดการข้อมูล
Server คืออะไร
ที่จริงแล้ว Server ก็คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่บริการ Service ให้กับ Computer ตัวอื่น ๆ ในองค์กร หมายความว่า คอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ทำงานเพื่อ Support เครื่อง PC ทั่วไปในระบบ ซึ่งจะเรียกกันว่าเครื่องลูก ศัพท์ที่นิยมใช้เรียกกันก็คือ Client นี้เองค่ะ
และในกลุ่ม Data Center คอมพิวเตอร์ Hardware ที่มีโปรแกรมของ Server ทำงานให้อยู่ มันจะถูกเรียกรวมกันเลยว่า Server Computer ซึ่งเซิร์ฟเวอร์ในแต่ละเครื่อง ก็จะมีทั้งรูปแบบที่ทุ่มเทตัวเครื่องทั้งหมดในการทำหน้าที่ทั้งหมด และรูปแบบที่ใช้งานทำหน้าที่เป็นเซิฟเวอร์แค่บางส่วน คือ ทำหน้าที่ตามงานที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น
ทั้งนี้ในส่วนของการทำงานร่วมกันของ Server และ เครื่องลูกนั้น ในสถานะปกติ โปรแกรมเซิร์ฟเวอร์จะทำหน้าที่รอรับคำสั่งจากเครื่องลูก ซึ่งก็อาจจะมาจากคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันหรือคนละเครื่องก็ได้ และโปรแกรมที่ใช้ในการเซอร์วิสของเซิร์ฟเวอร์กับเครื่องลูกนั้น ก็อาจจะมาจาก Software หรือ Application ตัวเดียวกันหรือคนละตัวก็ได้เช่นกันค่ะ
ทำไมถึงต่างจาก Computer ทั่วไป
Server และ Computer มีสิ่งที่เหมือนกันและไม่เหมือนกันอยู่ โดยเซิร์ฟเวอร์ส่วนใหญ่จะใช้ระบบประมวลผลแบบ X86X64 CPUs และยังสามารถทำงานในรูปแบบ Code เดียวกันกับคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่ใช้ X86/X64 ได้ แต่สิ่งที่แตกต่างกันเลยก็คือ Physical Server ส่วนใหญ่จะรองรับการติดตั้ง CPU หลาย ๆ Socket และเพื่อรองรับปริมาณการใส่ Ram ให้ได้จำนวนมากกว่าค่ะ
อีกหนึ่งสิ่งที่ได้เปรียบของเซิฟเวอร์ก็คือ ตัวเครื่องจะมีความแข็งแรงทนทานกว่า PC ทั่วไป และเขามีการออกแบบมาให้สามารถระบายอากาศได้อย่างดีเริ่ด แถมยังสามารถเปิดใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมงต่อเนื่องกันหลาย ๆ วัน หรือเป็นเดือนเป็นปีเลยทีเดียวค่ะ ปังมาก ๆ
สรุปง่าย ๆ อีกหนึ่งข้อแตกต่างของ Server กับ Computer ก็คือ Form Factor เพราะปัจจุบันคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะมักจะออกแบบมาในรูปทรง Mini Tower หรือ Small Form ซึ่งเขาออกแบบมาให้ติดตั้งกับโต๊ะทำงานได้อย่างสะดวกสบาย และประหยัดพื้นที่ ในส่วนของเซิร์ฟเวอร์นั้น แม้จะมีบางรุ่นที่ออกแบบมาในรูปทรง Tower คล้าย ๆ คอมพิวเตอร์เช่นกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีดีไซน์เป็นรูปแบบ Rack Mounted มากกว่า ระบบ Rack นั้นจะมีมาตรฐานขนาดที่ตายตัว แตกต่างกันเพียงแค่ความสูง ซึ่งใช้หน่วยเป็น 1U, 2U หรือ 4U เป็นต้นนั้นเองค่ะ
พูดมาถึงตรงนี้แล้ว หวังว่าผู้อ่านทุกคนหรือองค์กรไหนที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ สนใจสินค้า IT หรืออยากได้ Server ไปติดตั้งไว้ในองค์กร เรายินดีให้บริการและแนะนำได้อย่างตรงจุด ให้ทุกการทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น ให้ ReadyIDC ดูแลคุณนะคะ
“READY IDC”
ยินดีเป็นผู้ช่วยคนใหม่…ให้คุณ
สนใจติดต่อหรือสอบถามรายละเอียดการให้บริการเพิ่มเติมได้ทาง
Email: sales@readyidc.com หรือ www.readyidc.com